วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

http://202.143.150.227/imageself/op2.jpg

1.บทนำ
           ปลายศตวรรษที่ 20 โลกได้เข้าสู่ยุคของการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Revolution) มีการนำทรัพยากรสารสนเทศมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งข้อมูลข่าวสารทุกองค์กรนำกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน มีการติดต่อสื่อสารและใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดสินใจ รวมถึงการประมวลผลด้านต่างๆ 
           ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 แนวโน้มขององค์กรต่าง ๆ เริ่มมีการปรับฐานการลงทุนของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม  ประกอบกับการปรับกระบวนการการจัดการของภาครัฐบนฐานของความรู้เทคโนโลยีและ การสื่อสารได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การปฏวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมอย่างมาก ทั้งด้านความเป็นอยู่ การสื่อสาร การทำงาน การคมนาคม และการขนส่ง ธุรกิจและอุตสาหกรรม การแพทย์ วัฒนธรรม และการศึกษา
           ในปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า “นาโนเทคโนโลยี(Nanotechnology)” ทำให้การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้หลายพันล้านคนทั่วโลกและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศและบริการต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยอาจเรียกได้ว่าเป็น “สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Society)” หรือ “ชุมชนเล็กทรอนิกส์(Electronic Community)”


2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน

http://www.vcharkarn.com/uploads/219/219635.jpg


           ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสรเทศได้กลายเป็นปัจจัยที่ห้า เพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และการบริการ เป็นต้น
            เทคโนโลยีสารสนเทศมีใช้ในประเทศไทยเป็นเวลาช้านาน เรามีการใช้โทรศัพท์ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2414 เพียงแต่ว่าการใช้เทคโนโลยีนี้ยังไม่แพร่กระจายทั่วประเทศ
           ฉะนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงครอบคลุมถึงหลาย ๆ เทคโนโลยีหลัก อันได้แก่ คอมพิวเตอร์ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และฐานข้อมูล เทคโนโลยีระบบสื่อสารมวลชน ทั้งระบบแบบมีสายและไร้สาย นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะ ต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว คุรสมบัติโดดเด่นอื่น ๆ ที่ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรภาพในเกือบทุก ๆ กิจกรรม เช่น
    1. การลมต้นทุนหรือค่าใช่จ่าย
    2, การเพิ่มคุณภาพของงาน
    3. การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีอื่น ๆ
    4. การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ขึ้น
           ผลประโยชน์ต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลายๆ ประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้           
            1) ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการ สำหรับการเก็บ การประมวล และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว 
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhzjbZBF1Zzk-JAqu9Rz27gtei8M51fMrv_83NirrGolRpe30df_CTrvHVKnjLNPtWQlXE9ou5wS0Z1IA894IuA7rXM_0L2QuEl6IrbqSBKcxhTxwTiC7_ATD9iYhPY__VDmFqGxpRtu550/s320/service.jpg
         
            2) ทำให้สามารถนำพาอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และ โทรคมนาคมติดตามตัวได้ เนื่องจากได้มีพัฒนาการการย่อส่วนของชิ้นส่วน (miniaturization) และพัฒนาการการสื่อสารระบบไร้สาย                      3) ประการท้าย ที่จัดว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้คือ ทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน (converge) ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จัดเป็นเทคโนโลยียุทธศาสตร์สำคัญอีกหลายกลุ่ม ดังเช่นกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Co-operationand Development) ได้ศึกษาเปรียบเทียบ ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในประเด็นผลกระทบสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่
            1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
            2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
            3) การยอมรับจากสังคม
            4) การนำไปใช้ประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ
            5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1990 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพสูงสุดในทุกๆ ประเด็น


3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
           เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้าในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
http://www.thaigoodview.com/files/u9265/11.jpg
           ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีการประมาณการว่าตลาดโลกสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และฮาร์แวร์ และ ซอฟแวร์ โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะมีขนาด 1,600 พันล้านเหรีญสหรัฐ ในปี 1994 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 ต่อ ปี
        เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มัน อย่างไร ในโลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูง ในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีเป็น เทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก ในอนาคตธุรกิจบันเทิง จะเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่จะทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลอย่างสูงกับแนวความคิดความอ่านของผู้คนในสังคมเพราะเป็นวิถีทางหนึ่งที่ผู้ร่วมบันเทิง
          ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากผู้อื่นที่ร่วมอยู่ในวงบันเทิง และยอมรับสถานภาพว่าตนก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ การถ่ายทอดแนวความคิดระหว่างบุคคลในสังคมนั้นก็เป็นสิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมนั่นเอง  แต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระยะต่อไปจะเปิดโอกาสให้มีการสื่อข่าวสารจากจุดต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมมาก จะมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่ง เราอาจจะได้ความหลากหลายกลับคืนมา แต่ความหลากหลายนี้คงจะมีลักษณะแตกต่างจากที่เคยมีอยู่เดิม อย่างแน่นอน


4.สารสนเทศกับบุคคล
http://archive.voicetv.co.th/thumb/1_26542.jpg

           การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่จำกัดเฉพาะนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำคัญกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพและทุกวัย
           เทคโนโลยีเป็นเรื่องใกล้ชิดและเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล ระบบห้องสมุดดิจิตอล การเข้าถึงบริการสารสนเทศต่าง ๆ ผ่้านระบบมือถือ เป็นต้น 


5.สารสนเทศกับสังคม
           สารสนเทศมีความสำคัญต่อตัวบุคคลที่กล่าวมาแล้วยังมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม
           5.1 ด้านการศึกษา
           การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
http://blog.eduzones.com/images/blog/futurecareer/20090409150258.gif

           5.2 ด้านสังคม
           สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต            
http://news.nipa.co.th/image/manager/img500/15723_552000011257701.JPEG
       
         5.3 ด้านเศรษฐกิจ
           สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความรู้” (knowledge management) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน  
http://www.ismed.or.th/SME/src/upload/Image/PR/industrialgateway/movement.jpg
           5.4 ด้านวัฒนธรรม
           สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยมทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคีความมั่นคงในชาติ


6.บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
           ในปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยคุณลักษณะที่เอื้อต่อการศึกษา ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยในหลายมิติ (ไพรัช และ พิเชฐ. 2542) ดังนี้เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน (Education for All)” อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา เช่น การติดตั้งจานดาวเทียมในโรงเรียนในชนบทห่างไกลเพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมกับนักเรียนในพื้นที่อื่นๆ การติดตั้งเครือข่ายอินเทอเน็ตทำให้ครูและนักเรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศแหล่งข้อมูลจากทั่วโลก นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยให้ผู้พิการมีโอกาสรับการศึกษาและการประกอบอาชีพในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ
            เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรม การประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรมทางไกล(Tele-Training) การประชุมทางไกล(Tele-Conference) การประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต(InternetConference) ซึ่งทำให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ บุคลากรและเวลา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการนำอินเทอร์เน็ตมาสนับสนุนต่อ
การสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

http://arts.kmutt.ac.th/cil/templates%5Cja_bellatrix%5Cimages%5C01.jpg





           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น