วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 4 
เทคโนโลยีสารสนเทศ

http://image.dek-d.com/23/2376047/104393714

1. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
        พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศสืบเนื่องมาจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ใยแก้วนำแสง ดาวเทียมสื่อสาร ระบบเครือข่ายซอฟต์แวร์ และมัลติมีเดียกอปรกับราคาของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถูกลงแต่มีขีดความสามารถในการทำงานที่ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แนวโน้มการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานต่างๆ นั้นมีมากขึ้นเป็นลำดับ
        ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ  
        1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆและปฏิบัติตามคำสั่งที่ บอก เพื่อ ให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, 4)
                1) ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ส่งข้อมูล หน่วยประมวลผลก ลาง หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำสำรอง
                - อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจ กวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่าน บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) 
 
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhXm8_pNZuYiGhBuYjym7A6AcwvtPSFMucHw-6hnmPeoPD_mRAxhhUiNSmqtW5WcHUKoND0k6s7WuAZ0AjykmVeNsHRB7Qyq0_xF5UeJzEYpQjSI02vfhAsCjQsrGXIBEp4mTyggod8Ceg/s1600/1231582829.jpg
 
                - อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล - หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดย ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลัก มาประมวลผล
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhF6qUl9bBCKoH6UH15YORcwnT33jT3onVakJ7OWFAtWHArALGdA-SozMDg4K4VFcZll6V7ejJU6deUmIoOemuQSu8KtylAebXiStK6pvntkpquQO6cnpPDgQQMQyh_RcI6Sdt1wmnAk_KZ/s1600/LCD_monitor.jpg
 
 
 
             -หน่วยความจำหลักมีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูลรวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผลหน่วยความจำสำรองทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งานเพื่อการใช้ในอนาคต
 
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/pic/ram-auf.jpg  
 
                2) ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่อง คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับ คอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
              - โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น UNIX,DOS, MicrosoftWindows
              - โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผล ข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor)
              - โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
              - ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป ไม่เจาะจง ประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น 
              - ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ ของการนำไปใช้
              - ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจาก ซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่างๆ เป็นต้น  
 
  
http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340201350/img/MicrosoftProducts.jpg
        
        สำหรับกระบวนการการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการอย่างรวดเร็ว ถูก ต้อง แม่นยำและมีคุณภาพ จะเริ่มด้วยการคัดเลือก การจัดหา การวิเคราะห์เนื้อหา และการค้นคืนสารสนเทศ ซึ่งกระบวนการจัดการหรือจัดทำสารสนเทศเพื่อให้สามารถ ผลิตสารสนเทศสนองความต้องการของผู้นั้น จะประกอบด้วยกรรมวิธี 3 ประการ คือ การนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลข้อมูลและกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ทำงานร่วมกัน ดัง แผนภาพต่อไปนี้คือ

http://imagehost.thaibuzz.com/iu/858untitled.png 



1.2 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม 
 
http://engineer.utcc.ac.th/electronics/images/stories/Globe.jpg

         เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) ตัวอย่าง เช่น การส่ง ข้อมูลต่าง ๆ ของยานอวกาศที่อยู่นอกโลกมายังเครื่องคอมพิวเตอร์บนโลก เพื่อทำการคำนวณและประมวล ผล ทำให้ทราบปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้ง ชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ล ใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น 
        สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของ ข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/ Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
 
http://imagehost.thaibuzz.com/io/ohig4.png   
 
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อ ไปนี้ คือ
         1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัลกล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
         2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
         3) เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
         4) เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
         5) เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
         6) เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุ กระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้สร้างสิ่งใหม่ให้กับสังคมปัจจุบันที่เรียกว่าเป็นสังคม ไร้พรมแดนหรือสังคมโลกาภิวัตน์ (Globalization) ไว้มากมาย เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet), ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway), ระบบทีวี ตามความต้องการ (Video On Demand), การประชุมผ่านทางจอภาพ (Video Conference), พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce), ระบบการเรียนทางไกล (Tele Education), โทรเวช (Tele Medicine), ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปรษณีย์ภาพ (Video Mail), โทรทัศน์แบบมีการโต้ตอบ (Interactive TV), ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library), ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น
 
 
2. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
 
http://lh5.ggpht.com/_6oXoBUhAREI/Scc2k00aUYI/AAAAAAAABF8/7lgOrJ8VYjA/s800/387586-topic-1.jpg
 
        วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจากยุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนาน มากกว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงบางช่วงก็เร็วมากหากสังเกตจะเห็นว่าในปัจจุบันการค้นคิดเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยน ไปอย่างเร็วมากจนผู้ใช้แทบจะตามไม่ทันซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยทำให้มองภาพในอนาคตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้
        เมื่อมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในยุคต่างๆ แล้ว ควรมี
 ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร      ดังนี้ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณ เป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า “สัญญาณอนาลอก” แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบ คอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกันเป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า “สัญญาณดิจิตอล” ซึ่ง ข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “โมเด็ม” (Modem)

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ

 https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgV7i3AXUobig32OYPRdFwHjE2mwBvC8yoP-rznCmLar-6kLzA-VjA13AgvfbzO6B6MX2pU1PA0X8ufw_kkBdwTCOh6eqdrd0RdlM0dqJX158Sd6Zpqu7ATV_7NVuYIPdeJNur024pNKOzN/s320/j0197721%255B1%255D2.gif

      การรู้สารสนเทศ หมายถึง การรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ (ข้อมูลข่าวสาร) การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์และประเมิณสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลและสร้างสรรค์ การ สรุปอ้างอิงและสื่อสารข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้าใจและยอมรับในจริยธรรมของข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาเจตคตินำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
      ดังนั้นการรู้สารสนเทศของบุคคล จะช่วยส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงสารสนเทศจากทั่วทุก มุมโลกและนำสารสนเทศออกเป็นความรู้ เพื่อนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการส่งเสริมเสรีภาพในการเรียนรู้ของทุกคนอย่างแท้จริง
     

ความเป็นมา

      จากวรรณคดีและงานวิจัยจากองค์กรและสถาบันต่างๆ ได้แก่ American Association of School Librarians & Association for Educational Communications and Technology (2004) และ The Big 6 Center for Media Literacy National Skills Standard Board (Eisenberg and Berkowitz (2005) สามารถจำแนกทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21 ได้เป็น 4 ลักษณะคือ
      1.ทักษะสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ ทักษะการรู้สารสนเทศและการรู้สื่อ ทักษะการสื่อสาร
      2.ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ได้แก่ การ คิดวิเคราะห์ และการคิดเป็นระบบ การระบุปัญหาการ
ดำเนินการและแนวทางการแก้ปัญหา ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และความใฝ่รู้เชิงปัญญา
       3.ทักษะปฏิสัมพันธ์และการชี้นำตนเอง ได้แก่ ทักษะการปฏิสัมพันธ์ และการประสานร่วมมือ การชี้นำตนเอง การเป็นที่น่าเชื่อถือ และการปรับตัว 
      4. การรับผิดชอบต่อสังคมจากทักษะการเรียนรู้ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ทักษะการรู้สารสนเทศ เป็นทักษะหนึ่งที่จำาเป็นยิ่งสำาหรับการเรียนรู้ในทศวรรษนี้

องค์ประกอบของสารสนเทศ

 

    
http://gotoknow.org/file/songsak_g/69-big.jpg
       องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศประกอบด้วย ความเข้าใจ และความสามารถส่วนบุคคลที่ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ โดยต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้
       1) ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถทางกายภาพ และสติปัญญา ในการเข้าถึงสารสนเทศ ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี สามารถระบุแหล่งและสืบค้น ด้วยการใช้ความรู้และกลยุทธ์เพื่อคัดสรร แก้ไข วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และสื่อสารกับฐานข้อมูลทั่วไปและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
       2) ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถในการสังเคราะห์ หรือตีความสามารถตัดสินใจได้ว่าแหล่งสารสนเทศใดมีความน่าเชื่อถือ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและความเที่ยงตรง ซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญในการประเมินสารสนเทศ
       3) ความสามารถในการใช้สารสนเทศ ประกอบด้วยความเข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ รวมถึงมารยาทการใช้สารสนเทศ และประสิทธิภาพในการ จัดการสารสนเทศที่สืบค้นได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ

http://www.payap.ac.th/report53/images/book18.png

       SUNY Council of Library Directors Information Literacy Initiative (2003) ได้เสนอคุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศของบุคคลดังนี้
1) ตระหนักถึงความจำาเป็นของสารสนเทศ
2) สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
3) เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
5) นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
6) มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
7) เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและกฎหมายในการใช้สารสนเทศ
8) เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
9) แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
10) ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 


มาตราฐานของผู้รู้สารสนเทศ

http://it.kbtc.ac.th/it54/5411/dream/images/cats.jpg
      American Association of School Librarians & Association for Educational Communications and Technology (2004) ได้เสนอมาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศไว้ 3 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ มาตรฐานทั่วไป ประกอบด้วย มาตรฐานที่1-3 การเรียนรู้อย่างอิสระประกอบด้วยมาตรฐานที่ 4-6 และความรับผิดชอบต่อ สังคมประกอบด้วยมาตรฐานที่7-8 ดังต่อไปนี้
       มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
       มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างมีความสามารถ
       มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนให้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
       มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัวได้
       มาตรฐานที่5 ขนั้ประเมนิประสทิธภิาพและประสทิธผิล (Evaluation) เปน็การวเิคราะหส์ารสนเทศ ที่สืบค้นได้จากแหล่งต่าง ๆ และนำาเสนอสารสนเทศ
       มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนที่มีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ ต้องมุ่งแสวงหาสารสนเทศ และสร้างองค์ความรู้อย่างยอดเยี่ยม ความรับผิดชอบต่อสังคม
       มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศและ ตระหนักถึงความสำาคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
       มาตรฐานที่8 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชมุชนแหง่การเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศ และฝึกฝนให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
       การรู้สารสนเทศจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศโดยต้องจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในบริบทของทุกอย่างในชีวิตของบุคคล เพื่อความสำเร็จโดยบูรณาการทั้งในหลักสูตรของการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 


แนวทางการส่งเสริมสารการรู้สารสนเทศ

http://www.payap.ac.th/report53/images/book17.png

       แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศมีหลายแนวทาง หากแนวทางที่มีรูปธรรมชัดเจนจากประเทศ สหรัฐอเมริกา คือ TheBig 6 Skills Model ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาชื่อ Mike Eisenberg และ Bob Berkowitz (2001-2006) โดยได้นำไปใช้ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่ หลาย มีการนำไปประยุกต์เพื่อการเรียนการสอนทักษะสารสนเทศในสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยมี 6 ขั้น ตอน ได้แก่
       ขั้นตอนที่ 1 การกำหนด ภาระงาน (Task Definition) เป็นการระบุปัญหา หรือกำาหนดขอบเขต ของสารสนเทศที่ต้องการใช้ และกำาหนดวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาสารสนเทศในขั้นต่อไป
       ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกลยุทธ์แสวงหาสารสนเทศ (Information Seeking Strategies) เป็นการ กำาหนดว่าแหล่งสารสนเทศใดมีสารสนเทศที่ต้องการ และประเมินความเหมาะสมของแหล่งสารสนเทศกับ ปัญหาที่ได้กำาหนดไว้ข้างต้น เพื่อให้สารสนเทศได้ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง
       ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดแหล่งสารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศ (Location and Access) เป็นการระบุแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศและค้นหาสารสนเทศตามแหล่งสารสนเทศที่ได้ กำาหนดไว้
       ขั้นตอนที่ 4 การใช้สารสนเทศ (Use of Information) เป็นการอ่านพิจารณาสารสนเทศที่ต้องการ และคัดเลือกข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องออกมาใช้ได้ตรงกับที่ต้องการ
       ขั้นตอนที่5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศ ที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ
       ขั้นตอนที่ 6 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ 


ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ

       จากผลการวจิยัการพฒันารปูแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย (อาชญัญา รตันอุบลและคนอื่นๆ, 2549) พบว่ารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ 4 ขั้นตอนคือ กำหนดภารกิจ ตรงจุด เข้าถึงแหล่ง ประเมินสารสนเทศ และบูรณาการวิถีการใช้งาน ได้ถูกนำไปใช้ โดยส่วนใหญ่ผู้สอนเริ่มเข้าใจ และให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้แก่ผู้เรียนของตน และพยายามคิดค้นกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศให้เหมาะสมกับธรรมชาติ และบริบทของแต่ละท้องถิ่นโดยผู้สอนได้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ สารสนเทศทั้งในสถาบันการศึกษาและในชุมชน สำหรับความคิด เห็นของผู้เรียนพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสุขและชอบการเรียนสารสนเทศ โดยเฉพาะขั้นตรงจุดเข้าถึงแหล่งเพราะได้มีโอกาสแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ได้ตามที่ตนต้องการ โดยผู้เรียนกำหนดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสค้นคว้าศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆทั้งจากโลกแห่งความเป็นจริงภายใน และภายนอกสถาบันการศึกษา และโลกของอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการศึกษานอกโรงเรียนควรต้องเน้นกระบวนการพิจารณาคุณค่าของการรู้สารสนเทศ เพื่อเป็นแกนการเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ ในบริบทของชีวิตแต่ละบุคคล การศึกษานอกโรงเรียนต้องมุ่งให้บุคคลรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศการจัด ระบบประมวลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศ เพื่อการ ตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ การสรุปอ้างอิงและสื่อสารข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ ความ เข้าใจและยอมรับในจริยธรรมของข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาเจตคติที่นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อนำไป สู่การรู้สารสนเทศอย่างแท้จริง 

https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_ordinarycourse/wiki/8ed25/images/62c2c.JPG



 

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

http://202.143.150.227/imageself/op2.jpg

1.บทนำ
           ปลายศตวรรษที่ 20 โลกได้เข้าสู่ยุคของการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Revolution) มีการนำทรัพยากรสารสนเทศมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งข้อมูลข่าวสารทุกองค์กรนำกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน มีการติดต่อสื่อสารและใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดสินใจ รวมถึงการประมวลผลด้านต่างๆ 
           ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 แนวโน้มขององค์กรต่าง ๆ เริ่มมีการปรับฐานการลงทุนของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม  ประกอบกับการปรับกระบวนการการจัดการของภาครัฐบนฐานของความรู้เทคโนโลยีและ การสื่อสารได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การปฏวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมอย่างมาก ทั้งด้านความเป็นอยู่ การสื่อสาร การทำงาน การคมนาคม และการขนส่ง ธุรกิจและอุตสาหกรรม การแพทย์ วัฒนธรรม และการศึกษา
           ในปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า “นาโนเทคโนโลยี(Nanotechnology)” ทำให้การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้หลายพันล้านคนทั่วโลกและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศและบริการต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยอาจเรียกได้ว่าเป็น “สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Society)” หรือ “ชุมชนเล็กทรอนิกส์(Electronic Community)”


2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน

http://www.vcharkarn.com/uploads/219/219635.jpg


           ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสรเทศได้กลายเป็นปัจจัยที่ห้า เพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และการบริการ เป็นต้น
            เทคโนโลยีสารสนเทศมีใช้ในประเทศไทยเป็นเวลาช้านาน เรามีการใช้โทรศัพท์ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2414 เพียงแต่ว่าการใช้เทคโนโลยีนี้ยังไม่แพร่กระจายทั่วประเทศ
           ฉะนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงครอบคลุมถึงหลาย ๆ เทคโนโลยีหลัก อันได้แก่ คอมพิวเตอร์ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และฐานข้อมูล เทคโนโลยีระบบสื่อสารมวลชน ทั้งระบบแบบมีสายและไร้สาย นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะ ต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว คุรสมบัติโดดเด่นอื่น ๆ ที่ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรภาพในเกือบทุก ๆ กิจกรรม เช่น
    1. การลมต้นทุนหรือค่าใช่จ่าย
    2, การเพิ่มคุณภาพของงาน
    3. การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีอื่น ๆ
    4. การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ขึ้น
           ผลประโยชน์ต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลายๆ ประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้           
            1) ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการ สำหรับการเก็บ การประมวล และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว 
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhzjbZBF1Zzk-JAqu9Rz27gtei8M51fMrv_83NirrGolRpe30df_CTrvHVKnjLNPtWQlXE9ou5wS0Z1IA894IuA7rXM_0L2QuEl6IrbqSBKcxhTxwTiC7_ATD9iYhPY__VDmFqGxpRtu550/s320/service.jpg
         
            2) ทำให้สามารถนำพาอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และ โทรคมนาคมติดตามตัวได้ เนื่องจากได้มีพัฒนาการการย่อส่วนของชิ้นส่วน (miniaturization) และพัฒนาการการสื่อสารระบบไร้สาย                      3) ประการท้าย ที่จัดว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้คือ ทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน (converge) ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จัดเป็นเทคโนโลยียุทธศาสตร์สำคัญอีกหลายกลุ่ม ดังเช่นกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Co-operationand Development) ได้ศึกษาเปรียบเทียบ ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในประเด็นผลกระทบสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่
            1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
            2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
            3) การยอมรับจากสังคม
            4) การนำไปใช้ประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ
            5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1990 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพสูงสุดในทุกๆ ประเด็น


3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
           เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้าในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
http://www.thaigoodview.com/files/u9265/11.jpg
           ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีการประมาณการว่าตลาดโลกสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และฮาร์แวร์ และ ซอฟแวร์ โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะมีขนาด 1,600 พันล้านเหรีญสหรัฐ ในปี 1994 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 ต่อ ปี
        เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มัน อย่างไร ในโลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูง ในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีเป็น เทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก ในอนาคตธุรกิจบันเทิง จะเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่จะทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลอย่างสูงกับแนวความคิดความอ่านของผู้คนในสังคมเพราะเป็นวิถีทางหนึ่งที่ผู้ร่วมบันเทิง
          ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากผู้อื่นที่ร่วมอยู่ในวงบันเทิง และยอมรับสถานภาพว่าตนก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ การถ่ายทอดแนวความคิดระหว่างบุคคลในสังคมนั้นก็เป็นสิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมนั่นเอง  แต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระยะต่อไปจะเปิดโอกาสให้มีการสื่อข่าวสารจากจุดต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมมาก จะมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่ง เราอาจจะได้ความหลากหลายกลับคืนมา แต่ความหลากหลายนี้คงจะมีลักษณะแตกต่างจากที่เคยมีอยู่เดิม อย่างแน่นอน


4.สารสนเทศกับบุคคล
http://archive.voicetv.co.th/thumb/1_26542.jpg

           การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่จำกัดเฉพาะนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำคัญกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพและทุกวัย
           เทคโนโลยีเป็นเรื่องใกล้ชิดและเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล ระบบห้องสมุดดิจิตอล การเข้าถึงบริการสารสนเทศต่าง ๆ ผ่้านระบบมือถือ เป็นต้น 


5.สารสนเทศกับสังคม
           สารสนเทศมีความสำคัญต่อตัวบุคคลที่กล่าวมาแล้วยังมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม
           5.1 ด้านการศึกษา
           การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
http://blog.eduzones.com/images/blog/futurecareer/20090409150258.gif

           5.2 ด้านสังคม
           สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต            
http://news.nipa.co.th/image/manager/img500/15723_552000011257701.JPEG
       
         5.3 ด้านเศรษฐกิจ
           สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความรู้” (knowledge management) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน  
http://www.ismed.or.th/SME/src/upload/Image/PR/industrialgateway/movement.jpg
           5.4 ด้านวัฒนธรรม
           สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยมทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคีความมั่นคงในชาติ


6.บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
           ในปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยคุณลักษณะที่เอื้อต่อการศึกษา ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยในหลายมิติ (ไพรัช และ พิเชฐ. 2542) ดังนี้เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน (Education for All)” อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา เช่น การติดตั้งจานดาวเทียมในโรงเรียนในชนบทห่างไกลเพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมกับนักเรียนในพื้นที่อื่นๆ การติดตั้งเครือข่ายอินเทอเน็ตทำให้ครูและนักเรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศแหล่งข้อมูลจากทั่วโลก นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยให้ผู้พิการมีโอกาสรับการศึกษาและการประกอบอาชีพในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ
            เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรม การประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรมทางไกล(Tele-Training) การประชุมทางไกล(Tele-Conference) การประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต(InternetConference) ซึ่งทำให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ บุคลากรและเวลา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการนำอินเทอร์เน็ตมาสนับสนุนต่อ
การสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

http://arts.kmutt.ac.th/cil/templates%5Cja_bellatrix%5Cimages%5C01.jpg